จรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
1.ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริม
ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2.ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัย ที่ถูกต้องดีงาม ให้เกิดแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถ
ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3.ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
4.ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์
5.ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ให้ศิษย์
กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์ ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6.ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทาง วิทยาการ เศรษฐกิจสังคม
และการเมืองอยู่เสมอ
7.ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรวิชาชีพครู
8.ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
9.ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย
วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สิทธิ์ส่วนบุคคล
การปรับพฤติกรรมเด็กออทิศติก
เรียบเรียงโดย อรวรานันท์ ทองพานเหล็ก
ในการดูแลเด็กออทิสติกถึงแม้จะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย แต่ปัญหาก็จัดว่ายังจัดการได้ไม่ยากนัก เช่น ไม่พูด ไม่สื่อสาร อยู่ไม่นิ่ง ร้องให้เสียงดัง แต่เมื่อเด็กออทิสติกโตขึ้นปัญหาที่พบก็จะมีมากขึ้น ซึ่งผู้ปกครองจำเป็นต้องเตรียมป้องกันไว้ตั้งแต่เด็กยังเล็ก ผู้ปกครองมักพาลูกมาฝึกโดยเน้นให้ลูกเรียนรู้ทักษะวิชาการและเข้าโรงเรียนได้ โดยเน้นสอนเรื่องตัวอักษรและ ตัวเลขซึ่งเด็กบางรายจะจดจำตัวอักษรและตัวเลขได้ แต่ไม่มีการเรียนรู้และเข้าใจอย่างแท้จริง ฉะนั้นจะเป็นการเหมาะกว่า ถ้าหลักสูตรการฝึกเด็กออทิสติกตั้งแต่แรกเริ่มควรเน้นทักษะการช่วยเหลือตนเอง และทักษะทางสังคมก่อนที่เด็กจะเรียนรู้ทักษะทางวิชาการ
พฤติกรรมของเด็กออทิสติกออทิสติก เป็นความบกพร่องของพัฒนาการทางการสื่อความหมาย และภาษา สังคมพฤติกรรม อารมณ์และการเรียนรู้ อาการที่เห็นได้ชัด เช่น การมีพฤติกรรมแปลกๆ ทำอะไร ซ้ำๆไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้จักการช่วยเหลือตนเองให้พ้นอันตราย มีปัญหาในด้านการกิน ด้านภาษาในการสื่อความหมาย อาจพูดซ้ำๆใช้คำสลับที่ พูดจาเลียนแบบ แต่บางคนมี ความสามารถพิเศษในบางเรื่อง เช่น การคิดคำนวณ การวาดรูป ดนตรี
สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กออทิสติกสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิที่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป ทำให้เด็กส่งเสียงงอแง เด็กบางคนพอเข้าไปในห้องเรียนที่มีอุณหภูมิที่ตนไม่เคยชิน ก็จะอยู่นิ่งไม่ได้เลย ในขณะที่ห้องเรียนเก่าสามารถอยู่นิ่งได้ความเจ็บป่วย อาจเป็นความเจ็บป่วยของเด็กหรือผลจากการใช้ยา เช่น เด็กที่ตบหัวหรือทุบหูตัวเองบ่อยๆนั้น อาจเกิดจากเด็กมีอาการปวดหัวหรือหู หรือบางทีที่เด็กหงุดหงิดง่ายอาจเป็นเพราะเด็กมีอาการปวดท้องการกระตุ้นตนเอง คือ ลักษณะอาการที่เด็กทำอะไรซ้ำๆ ซากๆเป็นเวลานาน เช่น โยกตัวสะบัดมือ กลิ้งของเล่นไปมา อาจเกิดกระบวนการทำงานของร่างกายที่ไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งต้องใช้วิธีการทางด้านกิจกรรมบำบัด และการกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับรู้เข้าช่วยการเรียกร้องความสนใจ คือ เด็กจะแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำ หากได้รับการตอบสนองต่อผู้อื่น เช่น เด็กไม่อยากทานข้าวเอง จึงกัดมือของตนเองแล้วผู้ปกครองเข้ามาห้ามมากอด และป้อนข้าวให้เด็ก เมื่อถึงเวลาทางข้าวครั้งต่อไปเด็กก็จะทำพฤติกรรมดังกล่าวความต้องการหลีกหนี คือ เด็กจะเลือกทำพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ตนเองไม่ชอบ เช่น เด็กทราบว่าเมื่อทานข้าวเสร็จเด็กจะต้องเก็บจาน และทำความสะอาดโต๊ะ เด็กจะทำจานแตกเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงาน จึงต้องฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองการได้รับการฝึกมากเกินไป ซึ่งการฝึกให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ ต้องคำนึงถึงความสามารถของเด็กรวมถึงสุขภาพจิตของเด็กด้วย มีความอดทนและยึดหยุ่นได้แค่ไหน เด็กอาจมีพฤติกรรมต่อต้าน ขัดขืน โวยวายและอาละวาด หากให้กิจกรรมที่ไม่เหมาะสมและ นานจนเกินไป
ตัวอย่างพฤติกรรมของเด็กออทิสติกที่ควรได้รับการแก้ไข- การกรีดร้อง- พฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ตี ชก ต่อย กัด ผลัก เตะ ดึงผมผู้อื่น- พฤติกรรมการกระตุ้นตนเอง- การไม่อยู่นิ่ง- การแยกตัว- การตกใจมากหรือหวาดกลัวมากเมื่อมองเห็นวัตถุบางอย่าง- การเล่นของเล่นตามลำพัง การเข้าสังคม- การไม่สบตา- พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในห้างสรรพสินค้าหรือในภัตตาคาร- การตกใจเมื่อได้ยินเสียงบางอย่าง
เทคนิคการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กออทิสติก วิธีการปรับพฤติกรรมมีเป้าหมาย 3 เรื่อง คือ1. ลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา2. ส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม3. สร้างพฤติกรรมใหม่
วิธีที่ใช้ในการปรับพฤติกรรมการจับทำหรือจับให้หยุดเป็นเทคนิคที่ใช้ในการสร้างพฤติกรรมใหม่หรือหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ใช้วิธีการช่วยเหลือใดๆก็ได้ที่ช่วยให้เด็กทำกิจกรรมได้ง่ายขึ้น เช่น จับมือไม่ให้รื้อของจับมือจับช้อนกินข้าว และลดการช่วยเหลือลงเรื่อยๆจนเด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองการให้รางวัลเป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อให้เด็กทำพฤติกรรมที่เราต้องการมากขึ้น โดยการใช้สิ่งของที่เด็กชอบหลังจากเด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ หรือทำกิจกรรมที่มอบหมายให้เสร็จ อาจเป็นขนมของเล่น คำชมเชย การแสดงความรัก โดยการกอด หอมแก้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรางวัลที่เด็กชอบ แต่ต้องระวังการติดเป็นเงื่อนไข ต้องป้องกันโดยค่อยๆถอดถอนรางวัลและงดให้เมื่อ พฤติกรรมที่พึงประสงค์นั้นคงที่การเพิ่มสิ่งเร้าเป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อเพิ่มพฤติกรรมที่ต้องการ โดยการเพิ่มสิ่งเร้าให้น่าสนใจใช้รูปแบบการกระตุ้นที่หลากหลาย เช่น การเรียกชื่อเด็กอาจใช้เสียงดัง ใช้เสียงเพลงประกอบแต่ต้องระวังว่าเด็กอาจเคยชินกับการตอบสนองต่อเสียงดัง ต้องค่อยๆลดลงเสียงให้อยู่ในระดับปกติการไม่สนใจเป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยเพิกถอนต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เด็กนอนดิ้นกับพื้นเมื่ออยากได้ของเล่นที่ไม่มีประโยชน์ ให้เดินหนีและมองความปลอดภัยให้เด็กอยู่ห่างๆอย่าให้เด็กรู้ตัว วิธีนี้ผู้ฝึกต้องใจเย็นใช้ความอดทนสูง และใช้การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่เป็นอันตราย ไม่ได้การเบี่ยงเบนความสนใจ เป็นเทคนิคเพื่อใช้ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยการหาสิ่งที่น่าสนใจมากกว่ามาให้เด็กทำและมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจหลายๆอย่างให้เด็กได้เลือกการปรับพฤติกรรมในเด็กออทิสติก เป็นกระบวนการที่มีประโยชน์ทั้งด้านพัฒนาการและแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา รวมถึงเป็นการเตรียมให้เด็กมีความพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ในด้านต่างๆ ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นคือ เรื่องเทคนิคพฤติกรรมศาสตร์ความเข้าใจอาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กออทิสติก นอกจากความรู้ความเข้าใจแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการปฏิบัติคือ บรรยากาศ อารมณ์ความรู้สึกต้องดี ดึงเด็กออกมาจากโลกของตัวเอง สื่อให้เด็กรับรู้ถึงความสุขที่มีอยู่ในสังคม
้
เอกสารอ้างอิง
ปริศนา สันคำ และคณะ.ปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกอย่างไรดี.รุจา เจนวีระนนท์ .การปรับพฤติกรรม.นายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา . เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก.
และที่มาจาก :http://www.specialed-center1.com
ในการดูแลเด็กออทิสติกถึงแม้จะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย แต่ปัญหาก็จัดว่ายังจัดการได้ไม่ยากนัก เช่น ไม่พูด ไม่สื่อสาร อยู่ไม่นิ่ง ร้องให้เสียงดัง แต่เมื่อเด็กออทิสติกโตขึ้นปัญหาที่พบก็จะมีมากขึ้น ซึ่งผู้ปกครองจำเป็นต้องเตรียมป้องกันไว้ตั้งแต่เด็กยังเล็ก ผู้ปกครองมักพาลูกมาฝึกโดยเน้นให้ลูกเรียนรู้ทักษะวิชาการและเข้าโรงเรียนได้ โดยเน้นสอนเรื่องตัวอักษรและ ตัวเลขซึ่งเด็กบางรายจะจดจำตัวอักษรและตัวเลขได้ แต่ไม่มีการเรียนรู้และเข้าใจอย่างแท้จริง ฉะนั้นจะเป็นการเหมาะกว่า ถ้าหลักสูตรการฝึกเด็กออทิสติกตั้งแต่แรกเริ่มควรเน้นทักษะการช่วยเหลือตนเอง และทักษะทางสังคมก่อนที่เด็กจะเรียนรู้ทักษะทางวิชาการ
พฤติกรรมของเด็กออทิสติกออทิสติก เป็นความบกพร่องของพัฒนาการทางการสื่อความหมาย และภาษา สังคมพฤติกรรม อารมณ์และการเรียนรู้ อาการที่เห็นได้ชัด เช่น การมีพฤติกรรมแปลกๆ ทำอะไร ซ้ำๆไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้จักการช่วยเหลือตนเองให้พ้นอันตราย มีปัญหาในด้านการกิน ด้านภาษาในการสื่อความหมาย อาจพูดซ้ำๆใช้คำสลับที่ พูดจาเลียนแบบ แต่บางคนมี ความสามารถพิเศษในบางเรื่อง เช่น การคิดคำนวณ การวาดรูป ดนตรี
สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กออทิสติกสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิที่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป ทำให้เด็กส่งเสียงงอแง เด็กบางคนพอเข้าไปในห้องเรียนที่มีอุณหภูมิที่ตนไม่เคยชิน ก็จะอยู่นิ่งไม่ได้เลย ในขณะที่ห้องเรียนเก่าสามารถอยู่นิ่งได้ความเจ็บป่วย อาจเป็นความเจ็บป่วยของเด็กหรือผลจากการใช้ยา เช่น เด็กที่ตบหัวหรือทุบหูตัวเองบ่อยๆนั้น อาจเกิดจากเด็กมีอาการปวดหัวหรือหู หรือบางทีที่เด็กหงุดหงิดง่ายอาจเป็นเพราะเด็กมีอาการปวดท้องการกระตุ้นตนเอง คือ ลักษณะอาการที่เด็กทำอะไรซ้ำๆ ซากๆเป็นเวลานาน เช่น โยกตัวสะบัดมือ กลิ้งของเล่นไปมา อาจเกิดกระบวนการทำงานของร่างกายที่ไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งต้องใช้วิธีการทางด้านกิจกรรมบำบัด และการกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับรู้เข้าช่วยการเรียกร้องความสนใจ คือ เด็กจะแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำ หากได้รับการตอบสนองต่อผู้อื่น เช่น เด็กไม่อยากทานข้าวเอง จึงกัดมือของตนเองแล้วผู้ปกครองเข้ามาห้ามมากอด และป้อนข้าวให้เด็ก เมื่อถึงเวลาทางข้าวครั้งต่อไปเด็กก็จะทำพฤติกรรมดังกล่าวความต้องการหลีกหนี คือ เด็กจะเลือกทำพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ตนเองไม่ชอบ เช่น เด็กทราบว่าเมื่อทานข้าวเสร็จเด็กจะต้องเก็บจาน และทำความสะอาดโต๊ะ เด็กจะทำจานแตกเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงาน จึงต้องฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองการได้รับการฝึกมากเกินไป ซึ่งการฝึกให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ ต้องคำนึงถึงความสามารถของเด็กรวมถึงสุขภาพจิตของเด็กด้วย มีความอดทนและยึดหยุ่นได้แค่ไหน เด็กอาจมีพฤติกรรมต่อต้าน ขัดขืน โวยวายและอาละวาด หากให้กิจกรรมที่ไม่เหมาะสมและ นานจนเกินไป
ตัวอย่างพฤติกรรมของเด็กออทิสติกที่ควรได้รับการแก้ไข- การกรีดร้อง- พฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ตี ชก ต่อย กัด ผลัก เตะ ดึงผมผู้อื่น- พฤติกรรมการกระตุ้นตนเอง- การไม่อยู่นิ่ง- การแยกตัว- การตกใจมากหรือหวาดกลัวมากเมื่อมองเห็นวัตถุบางอย่าง- การเล่นของเล่นตามลำพัง การเข้าสังคม- การไม่สบตา- พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในห้างสรรพสินค้าหรือในภัตตาคาร- การตกใจเมื่อได้ยินเสียงบางอย่าง
เทคนิคการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กออทิสติก วิธีการปรับพฤติกรรมมีเป้าหมาย 3 เรื่อง คือ1. ลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา2. ส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม3. สร้างพฤติกรรมใหม่
วิธีที่ใช้ในการปรับพฤติกรรมการจับทำหรือจับให้หยุดเป็นเทคนิคที่ใช้ในการสร้างพฤติกรรมใหม่หรือหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ใช้วิธีการช่วยเหลือใดๆก็ได้ที่ช่วยให้เด็กทำกิจกรรมได้ง่ายขึ้น เช่น จับมือไม่ให้รื้อของจับมือจับช้อนกินข้าว และลดการช่วยเหลือลงเรื่อยๆจนเด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองการให้รางวัลเป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อให้เด็กทำพฤติกรรมที่เราต้องการมากขึ้น โดยการใช้สิ่งของที่เด็กชอบหลังจากเด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ หรือทำกิจกรรมที่มอบหมายให้เสร็จ อาจเป็นขนมของเล่น คำชมเชย การแสดงความรัก โดยการกอด หอมแก้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรางวัลที่เด็กชอบ แต่ต้องระวังการติดเป็นเงื่อนไข ต้องป้องกันโดยค่อยๆถอดถอนรางวัลและงดให้เมื่อ พฤติกรรมที่พึงประสงค์นั้นคงที่การเพิ่มสิ่งเร้าเป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อเพิ่มพฤติกรรมที่ต้องการ โดยการเพิ่มสิ่งเร้าให้น่าสนใจใช้รูปแบบการกระตุ้นที่หลากหลาย เช่น การเรียกชื่อเด็กอาจใช้เสียงดัง ใช้เสียงเพลงประกอบแต่ต้องระวังว่าเด็กอาจเคยชินกับการตอบสนองต่อเสียงดัง ต้องค่อยๆลดลงเสียงให้อยู่ในระดับปกติการไม่สนใจเป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยเพิกถอนต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เด็กนอนดิ้นกับพื้นเมื่ออยากได้ของเล่นที่ไม่มีประโยชน์ ให้เดินหนีและมองความปลอดภัยให้เด็กอยู่ห่างๆอย่าให้เด็กรู้ตัว วิธีนี้ผู้ฝึกต้องใจเย็นใช้ความอดทนสูง และใช้การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่เป็นอันตราย ไม่ได้การเบี่ยงเบนความสนใจ เป็นเทคนิคเพื่อใช้ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยการหาสิ่งที่น่าสนใจมากกว่ามาให้เด็กทำและมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจหลายๆอย่างให้เด็กได้เลือกการปรับพฤติกรรมในเด็กออทิสติก เป็นกระบวนการที่มีประโยชน์ทั้งด้านพัฒนาการและแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา รวมถึงเป็นการเตรียมให้เด็กมีความพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ในด้านต่างๆ ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นคือ เรื่องเทคนิคพฤติกรรมศาสตร์ความเข้าใจอาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กออทิสติก นอกจากความรู้ความเข้าใจแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการปฏิบัติคือ บรรยากาศ อารมณ์ความรู้สึกต้องดี ดึงเด็กออกมาจากโลกของตัวเอง สื่อให้เด็กรับรู้ถึงความสุขที่มีอยู่ในสังคม
้
เอกสารอ้างอิง
ปริศนา สันคำ และคณะ.ปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกอย่างไรดี.รุจา เจนวีระนนท์ .การปรับพฤติกรรม.นายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา . เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก.
และที่มาจาก :http://www.specialed-center1.com
บทความเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เคล็ดลับสำหรับครูในการฝึก Sensory Integration
Sensory Integration เป็นกระบวนการของระบบประสาทที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งเป็นตัวบอกถึงการได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เมื่อเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับการประมวลผลการรับความรู้สึก การได้รับข้อมูลจาก สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากสมองไม่สามารถจัดระเบียบได้ดี ทำให้เกิดปัญหาการจัดระเบียบข้อมูล และมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะในการทำงานงานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้มือ การจัดการในห้องเรียนทั่วๆไป - ใช้กระดาษกราฟเพื่อช่วยจัดการกับปัญหาทางคณิตศาสตร์ เช่น การเขียน ตัวเลขตรงช่อง (เพื่อให้ตรงหลักในการบวก ลบเลข) - จัดเตรียมกระดาษที่มีเส้นเพื่อกำหนดขอบเขตการเขียน - เตรียมดินสอที่มีตัวยึด หรือวัสดุหุ้มดินสอ สำหรับเด็กที่มีความยากลำบากในการจับดินสอ - เตือนเด็กให้ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดช่วยยึดกระดาษไว้ขณะเขียน - ปรับความสูงของเก้าอี้ และโต๊ะให้เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละคน โดยเท้าควรจะแตะพื้น ความสูงของโต๊ะควรพอดีกับการท้าวคางของเด็ก - ระวังเรื่องสิ่งรบกวนทางสายตาและการได้ยิน เพื่อป้องกันการวอกแวกของเด็ก - ถ้าเด็กออกแรงกดกับดินสอมาก ควรให้เด็กใช้ดินสอกด - เนื่องจากการให้ข้อมูลเด็กอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นกิจกรรมการ เรียนรู้ที่มีหลายระบบการรับความรู้สึกร่วมกัน เช่น การมอง การฟัง จะช่วยให้เด็กมีความเข้าใจ และจำได้ดีขึ้น เด็กที่มีปัญหาไวต่อการสัมผัสแผ่วเบา เด็กที่ไวต่อการสัมผัสแผ่วเบา จะไม่ชอบการสัมผัสอย่างฉับพลันมากกว่าการสัมผัสอย่างมั่นคง สิ่งที่ควรทำในห้องเรียน คือ - ควรเข้าหาเด็กจากทางด้านหน้า เพื่อให้เด็กได้ใช้การรับรู้ทางสายตา ดูการสัมผัสที่จะมาถึง - ควรใช้การสัมผัสแบบหนักแน่นและมั่นคงที่บริเวณไหล่ หลัง จะค่อนข้าง ดีกว่าการใช้มือจับที่แขนเสื้อแขน หรือบริเวณหน้าเด็ก
- ที่นั่งหรือโต๊ะเรียนของเด็ก ควรออกจากบริเวณที่มีความวุ่นว่าย เช่น อาจอยู่ท้ายห้อง เพื่อที่เด็กจะได้เห็นว่าใครที่เข้ามาใกล้บ้าง - ให้เด็กนั่งบนตักครูหรืออยู่ในที่เงียบๆ ระหว่างที่มีการรวมกลุ่มกันหรือให้เด็กนั่งด้านข้างหรือด้านหลังของกลุ่ม ตำแหน่งที่มีการรวมกลุ่มกันเป็นการทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว เพราะเป็นไปได้ง่ายมากว่าจะมีการสัมผัสอย่างกะทันหันเกิดขึ้น - ควรมีสำหรับเด็กที่ไวต่อการสัมผัส โดยอนุญาตให้เด็กอยู่บริเวณดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพื่อสังเกตดูว่าเด็กรู้สึกไม่สบายตัว ทั้งนี้ไม่ควรทำให้เด็กรู้สึกว่าเป็นการถูกลงโทษ เด็กที่ต้องการ sensory input (ข้อมูลการรับความรู้สึก) เพื่อให้อยู่นิ่ง เด็กบางครั้งมีลักษณะแสวงหาข้อมูลการรับความรู้สึกเพื่อใช้ในการจัดระบบและเกิดความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวบ้างเป็นช่วง ๆ เช่น - อนุญาตให้เด็กนั่งบนเบาะลมที่วางบนเก้าอี้ สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวแต่ไม่ออกจากโต๊ะเรียน - ใช้เวลา 5 นาทีในช่วงพักเพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมในลักษณะการปีนป่าย นั่งชิงช้าก่อนกลับเข้าห้องเรียน - การใช้กิจกรรมที่มีจังหวะสม่ำเสมอ หรือมีการเคลื่อนไหวที่คงที่จะช่วยจัดระเบียบของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น การทำความสะอาดโต๊ะ การเลี้ยงลูกบาส การเดินแถว - ให้โอกาสเด็กได้ลบกระดานหรือนำโน้ตไปให้ครูคนอื่นเพื่อให้เขาได้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้นอีก - อนุญาตให้เด็กใช้เก้าอี้โยกได้เป็นช่วง ๆ ในห้องเรียน - ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าได้สิทธิพิเศษ หรือรู้สึกว่าเด็กเกิดภาวะความรุนแรงทางอารมณ์การเคลื่อนไหวที่มากกว่าปกติเป็นเพราะเด็กไม่ได้รับข้อมูลความรู้สึก ทั้งนี้เด็กควรต้องอยู่ในระเบียบวินัยด้วย
คำแนะนำคือ- ให้ดื่มน้ำจากขวดที่เก็บไว้ใต้โต๊ะ (มอบหมายให้นำกลับไปล้างทุกสัปดาห์) - เคี้ยวหลอด กาแฟกวน หรือยางที่ใส่ไว้ปลายดินสอ - อนุญาตให้เด็กถือสิ่งของในมือ เพื่อมีการเล่นยุกยิกในมือเด็ก อาจเป็นของนุ่มๆ และพอดีมือ เช่น ลูกโป่งใส่แป้ง, ลูกบอลนิ่ม, ตุ๊กตาหมา, บอลผิวสัมผัส- ให้มีการโหนตัวกับบาร์ประมาณ 20-30 วินาทีต่อครั้ง - ผลัก ดัน ถือของหนัก เช่น ถือหนังสือ, ช่วยย้ายโต๊ะ เก้าอี้, การออกแรงดันผนัง - สะพายเป้มีน้ำหนัก อาจใส่หนังสือ, ถั่วแห้ง ควรให้สะพายไว้ประมาณ 15-20 นาทีเท่านั้น และพัก 1-2 ชั่วโมงจึงให้ให้สะพายเป้อีกครั้ง - อาจมีมุมอ่านหนังสือด้วยเก้าอี้นุ่ม ซึ่งจะเป็นที่ที่หลีกหนีจากการกระตุ้นจากสิ่งเร้ามากและทำให้มีความพร้อมสำหรับกิจกรรมนั่งโต๊ะมากขึ้น
Sensory Integration เป็นกระบวนการของระบบประสาทที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งเป็นตัวบอกถึงการได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เมื่อเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับการประมวลผลการรับความรู้สึก การได้รับข้อมูลจาก สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากสมองไม่สามารถจัดระเบียบได้ดี ทำให้เกิดปัญหาการจัดระเบียบข้อมูล และมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะในการทำงานงานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้มือ การจัดการในห้องเรียนทั่วๆไป - ใช้กระดาษกราฟเพื่อช่วยจัดการกับปัญหาทางคณิตศาสตร์ เช่น การเขียน ตัวเลขตรงช่อง (เพื่อให้ตรงหลักในการบวก ลบเลข) - จัดเตรียมกระดาษที่มีเส้นเพื่อกำหนดขอบเขตการเขียน - เตรียมดินสอที่มีตัวยึด หรือวัสดุหุ้มดินสอ สำหรับเด็กที่มีความยากลำบากในการจับดินสอ - เตือนเด็กให้ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดช่วยยึดกระดาษไว้ขณะเขียน - ปรับความสูงของเก้าอี้ และโต๊ะให้เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละคน โดยเท้าควรจะแตะพื้น ความสูงของโต๊ะควรพอดีกับการท้าวคางของเด็ก - ระวังเรื่องสิ่งรบกวนทางสายตาและการได้ยิน เพื่อป้องกันการวอกแวกของเด็ก - ถ้าเด็กออกแรงกดกับดินสอมาก ควรให้เด็กใช้ดินสอกด - เนื่องจากการให้ข้อมูลเด็กอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นกิจกรรมการ เรียนรู้ที่มีหลายระบบการรับความรู้สึกร่วมกัน เช่น การมอง การฟัง จะช่วยให้เด็กมีความเข้าใจ และจำได้ดีขึ้น เด็กที่มีปัญหาไวต่อการสัมผัสแผ่วเบา เด็กที่ไวต่อการสัมผัสแผ่วเบา จะไม่ชอบการสัมผัสอย่างฉับพลันมากกว่าการสัมผัสอย่างมั่นคง สิ่งที่ควรทำในห้องเรียน คือ - ควรเข้าหาเด็กจากทางด้านหน้า เพื่อให้เด็กได้ใช้การรับรู้ทางสายตา ดูการสัมผัสที่จะมาถึง - ควรใช้การสัมผัสแบบหนักแน่นและมั่นคงที่บริเวณไหล่ หลัง จะค่อนข้าง ดีกว่าการใช้มือจับที่แขนเสื้อแขน หรือบริเวณหน้าเด็ก
- ที่นั่งหรือโต๊ะเรียนของเด็ก ควรออกจากบริเวณที่มีความวุ่นว่าย เช่น อาจอยู่ท้ายห้อง เพื่อที่เด็กจะได้เห็นว่าใครที่เข้ามาใกล้บ้าง - ให้เด็กนั่งบนตักครูหรืออยู่ในที่เงียบๆ ระหว่างที่มีการรวมกลุ่มกันหรือให้เด็กนั่งด้านข้างหรือด้านหลังของกลุ่ม ตำแหน่งที่มีการรวมกลุ่มกันเป็นการทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว เพราะเป็นไปได้ง่ายมากว่าจะมีการสัมผัสอย่างกะทันหันเกิดขึ้น - ควรมีสำหรับเด็กที่ไวต่อการสัมผัส โดยอนุญาตให้เด็กอยู่บริเวณดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพื่อสังเกตดูว่าเด็กรู้สึกไม่สบายตัว ทั้งนี้ไม่ควรทำให้เด็กรู้สึกว่าเป็นการถูกลงโทษ เด็กที่ต้องการ sensory input (ข้อมูลการรับความรู้สึก) เพื่อให้อยู่นิ่ง เด็กบางครั้งมีลักษณะแสวงหาข้อมูลการรับความรู้สึกเพื่อใช้ในการจัดระบบและเกิดความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวบ้างเป็นช่วง ๆ เช่น - อนุญาตให้เด็กนั่งบนเบาะลมที่วางบนเก้าอี้ สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวแต่ไม่ออกจากโต๊ะเรียน - ใช้เวลา 5 นาทีในช่วงพักเพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมในลักษณะการปีนป่าย นั่งชิงช้าก่อนกลับเข้าห้องเรียน - การใช้กิจกรรมที่มีจังหวะสม่ำเสมอ หรือมีการเคลื่อนไหวที่คงที่จะช่วยจัดระเบียบของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น การทำความสะอาดโต๊ะ การเลี้ยงลูกบาส การเดินแถว - ให้โอกาสเด็กได้ลบกระดานหรือนำโน้ตไปให้ครูคนอื่นเพื่อให้เขาได้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้นอีก - อนุญาตให้เด็กใช้เก้าอี้โยกได้เป็นช่วง ๆ ในห้องเรียน - ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าได้สิทธิพิเศษ หรือรู้สึกว่าเด็กเกิดภาวะความรุนแรงทางอารมณ์การเคลื่อนไหวที่มากกว่าปกติเป็นเพราะเด็กไม่ได้รับข้อมูลความรู้สึก ทั้งนี้เด็กควรต้องอยู่ในระเบียบวินัยด้วย
คำแนะนำคือ- ให้ดื่มน้ำจากขวดที่เก็บไว้ใต้โต๊ะ (มอบหมายให้นำกลับไปล้างทุกสัปดาห์) - เคี้ยวหลอด กาแฟกวน หรือยางที่ใส่ไว้ปลายดินสอ - อนุญาตให้เด็กถือสิ่งของในมือ เพื่อมีการเล่นยุกยิกในมือเด็ก อาจเป็นของนุ่มๆ และพอดีมือ เช่น ลูกโป่งใส่แป้ง, ลูกบอลนิ่ม, ตุ๊กตาหมา, บอลผิวสัมผัส- ให้มีการโหนตัวกับบาร์ประมาณ 20-30 วินาทีต่อครั้ง - ผลัก ดัน ถือของหนัก เช่น ถือหนังสือ, ช่วยย้ายโต๊ะ เก้าอี้, การออกแรงดันผนัง - สะพายเป้มีน้ำหนัก อาจใส่หนังสือ, ถั่วแห้ง ควรให้สะพายไว้ประมาณ 15-20 นาทีเท่านั้น และพัก 1-2 ชั่วโมงจึงให้ให้สะพายเป้อีกครั้ง - อาจมีมุมอ่านหนังสือด้วยเก้าอี้นุ่ม ซึ่งจะเป็นที่ที่หลีกหนีจากการกระตุ้นจากสิ่งเร้ามากและทำให้มีความพร้อมสำหรับกิจกรรมนั่งโต๊ะมากขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)