วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บทความเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เคล็ดลับสำหรับครูในการฝึก Sensory Integration
Sensory Integration เป็นกระบวนการของระบบประสาทที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งเป็นตัวบอกถึงการได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เมื่อเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับการประมวลผลการรับความรู้สึก การได้รับข้อมูลจาก สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากสมองไม่สามารถจัดระเบียบได้ดี ทำให้เกิดปัญหาการจัดระเบียบข้อมูล และมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะในการทำงานงานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้มือ การจัดการในห้องเรียนทั่วๆไป - ใช้กระดาษกราฟเพื่อช่วยจัดการกับปัญหาทางคณิตศาสตร์ เช่น การเขียน ตัวเลขตรงช่อง (เพื่อให้ตรงหลักในการบวก ลบเลข) - จัดเตรียมกระดาษที่มีเส้นเพื่อกำหนดขอบเขตการเขียน - เตรียมดินสอที่มีตัวยึด หรือวัสดุหุ้มดินสอ สำหรับเด็กที่มีความยากลำบากในการจับดินสอ - เตือนเด็กให้ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดช่วยยึดกระดาษไว้ขณะเขียน - ปรับความสูงของเก้าอี้ และโต๊ะให้เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละคน โดยเท้าควรจะแตะพื้น ความสูงของโต๊ะควรพอดีกับการท้าวคางของเด็ก - ระวังเรื่องสิ่งรบกวนทางสายตาและการได้ยิน เพื่อป้องกันการวอกแวกของเด็ก - ถ้าเด็กออกแรงกดกับดินสอมาก ควรให้เด็กใช้ดินสอกด - เนื่องจากการให้ข้อมูลเด็กอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นกิจกรรมการ เรียนรู้ที่มีหลายระบบการรับความรู้สึกร่วมกัน เช่น การมอง การฟัง จะช่วยให้เด็กมีความเข้าใจ และจำได้ดีขึ้น เด็กที่มีปัญหาไวต่อการสัมผัสแผ่วเบา เด็กที่ไวต่อการสัมผัสแผ่วเบา จะไม่ชอบการสัมผัสอย่างฉับพลันมากกว่าการสัมผัสอย่างมั่นคง สิ่งที่ควรทำในห้องเรียน คือ - ควรเข้าหาเด็กจากทางด้านหน้า เพื่อให้เด็กได้ใช้การรับรู้ทางสายตา ดูการสัมผัสที่จะมาถึง - ควรใช้การสัมผัสแบบหนักแน่นและมั่นคงที่บริเวณไหล่ หลัง จะค่อนข้าง ดีกว่าการใช้มือจับที่แขนเสื้อแขน หรือบริเวณหน้าเด็ก
- ที่นั่งหรือโต๊ะเรียนของเด็ก ควรออกจากบริเวณที่มีความวุ่นว่าย เช่น อาจอยู่ท้ายห้อง เพื่อที่เด็กจะได้เห็นว่าใครที่เข้ามาใกล้บ้าง - ให้เด็กนั่งบนตักครูหรืออยู่ในที่เงียบๆ ระหว่างที่มีการรวมกลุ่มกันหรือให้เด็กนั่งด้านข้างหรือด้านหลังของกลุ่ม ตำแหน่งที่มีการรวมกลุ่มกันเป็นการทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว เพราะเป็นไปได้ง่ายมากว่าจะมีการสัมผัสอย่างกะทันหันเกิดขึ้น - ควรมีสำหรับเด็กที่ไวต่อการสัมผัส โดยอนุญาตให้เด็กอยู่บริเวณดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพื่อสังเกตดูว่าเด็กรู้สึกไม่สบายตัว ทั้งนี้ไม่ควรทำให้เด็กรู้สึกว่าเป็นการถูกลงโทษ เด็กที่ต้องการ sensory input (ข้อมูลการรับความรู้สึก) เพื่อให้อยู่นิ่ง เด็กบางครั้งมีลักษณะแสวงหาข้อมูลการรับความรู้สึกเพื่อใช้ในการจัดระบบและเกิดความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวบ้างเป็นช่วง ๆ เช่น - อนุญาตให้เด็กนั่งบนเบาะลมที่วางบนเก้าอี้ สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวแต่ไม่ออกจากโต๊ะเรียน - ใช้เวลา 5 นาทีในช่วงพักเพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมในลักษณะการปีนป่าย นั่งชิงช้าก่อนกลับเข้าห้องเรียน - การใช้กิจกรรมที่มีจังหวะสม่ำเสมอ หรือมีการเคลื่อนไหวที่คงที่จะช่วยจัดระเบียบของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น การทำความสะอาดโต๊ะ การเลี้ยงลูกบาส การเดินแถว - ให้โอกาสเด็กได้ลบกระดานหรือนำโน้ตไปให้ครูคนอื่นเพื่อให้เขาได้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้นอีก - อนุญาตให้เด็กใช้เก้าอี้โยกได้เป็นช่วง ๆ ในห้องเรียน - ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าได้สิทธิพิเศษ หรือรู้สึกว่าเด็กเกิดภาวะความรุนแรงทางอารมณ์การเคลื่อนไหวที่มากกว่าปกติเป็นเพราะเด็กไม่ได้รับข้อมูลความรู้สึก ทั้งนี้เด็กควรต้องอยู่ในระเบียบวินัยด้วย
คำแนะนำคือ- ให้ดื่มน้ำจากขวดที่เก็บไว้ใต้โต๊ะ (มอบหมายให้นำกลับไปล้างทุกสัปดาห์) - เคี้ยวหลอด กาแฟกวน หรือยางที่ใส่ไว้ปลายดินสอ - อนุญาตให้เด็กถือสิ่งของในมือ เพื่อมีการเล่นยุกยิกในมือเด็ก อาจเป็นของนุ่มๆ และพอดีมือ เช่น ลูกโป่งใส่แป้ง, ลูกบอลนิ่ม, ตุ๊กตาหมา, บอลผิวสัมผัส- ให้มีการโหนตัวกับบาร์ประมาณ 20-30 วินาทีต่อครั้ง - ผลัก ดัน ถือของหนัก เช่น ถือหนังสือ, ช่วยย้ายโต๊ะ เก้าอี้, การออกแรงดันผนัง - สะพายเป้มีน้ำหนัก อาจใส่หนังสือ, ถั่วแห้ง ควรให้สะพายไว้ประมาณ 15-20 นาทีเท่านั้น และพัก 1-2 ชั่วโมงจึงให้ให้สะพายเป้อีกครั้ง - อาจมีมุมอ่านหนังสือด้วยเก้าอี้นุ่ม ซึ่งจะเป็นที่ที่หลีกหนีจากการกระตุ้นจากสิ่งเร้ามากและทำให้มีความพร้อมสำหรับกิจกรรมนั่งโต๊ะมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น